วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของดอกอันชัญ

ดอกอัญชัน พืชไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุม ใบเป็นรูปไข่ ผิวและขอบเรียบ ใบบางสีเขียบ ดอกมี 2 ชนิด มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ดอกมีสีน้ำเงินแก่ ม่วงแดง ม่วงอ่อน และขาว ดอกมีรูปทรงคล้ายกับกรวย กลีบรูปกลม ปากเว้า เป็นแอ่งตรงกลางกลีบ มีสีเหลือง
คุณค่าอาหารและสรรพคุณ ดอกอัญชัน
      ดอกอัญชัน ดอกใช้แต่งสีน้ำเงินและสีม่วงให้กับอาหารต่างๆ เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมชั้น เป็นต้น เวลาคั้น จะมีสีน้ำเงินเข้ม ถ้าต้องการสีม่วง ให้หยอน้ำมะพร้าวลงไปเล็กน้อย สรรพคุณน้ำดอกอัญชันคือ มีเบต้าแคโรทีนสูง เป็นตัว แอนติออกซิแดนท์ ช่วยต่อต้านสารก่อมะเร็ง

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

การกระจายพันธุ์


อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน
แหล่งที่พบ
พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอกอัญชันมีหลายประการดังนี้

1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทยเช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
3. สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆเช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้นเพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้นในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตาเช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น

สรรพคุณและวิธีใช้

            ดอก  รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน เป็นต้น เมล็ด เป็นยาระบาย ใบและราก อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ

น้ำอัญชัน

น้ำอัญชัน
น้ำคั้นจากดอก ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดกคนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีขนมเช่น เรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ใช้แต่งสีอาหารเช่น หุงข้าวผสมสีจากน้ำคั้นดอกอัญชัญได้สีน้ำเงินม่วงสวย รับประทานเป็นข้าวยำปักษ์ไต้ เป็นต้น เป็นไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด 
ข้อมูลจากหนังสือ พลังดอกไม้
 โดย รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ หน้า 273 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 น้ำดอกอัญชัน ส่วนผสมน้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วยน้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะวิธีทำน้ำดอกอัญชันนำดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาทีแล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้มวิธีทำน้ำเชื่อมน้ำเปล่า 500 กรัม, น้ำตาลทราย 500 กรัมนำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบอีกวิธีหนึ่งนำดอกอัญชันตากแห้งประมาณ 25 ดอกชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มแทนชา

ข้อแนะนำการดื่ม
1. ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา
2. การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆอาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิด ที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
3. การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหาร เสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่และอาจทำให้มีการดูดซึม สารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดอกอัญชัน

           




การปลูกดอกอัญชัน
ต้น       อัญชันเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีเถาขนาดเล็กและอ่น แต่ก้สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง  20 ฟุต ลักษณะเถาจะค่อนข้างกลม สีเขียวแต่หากเถาแก็จะเป็นสีน้ำตาล ตามลำต้นจะมีขนนุ่ม ๆ
 ปกคลุมโดยทั่วไป


ใบ        ใบของอัญชัด มีลักษณะเป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ ใบเล็กและค่อนข้างบาง รูปใบเกือบจะเป็น ทรงกลม ออกใบรวามเป็นแผงสลับกันไปตามข้อต้น
ดอก      ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดช่อหนึ่งจะมีดอก 2.4 ดอกอัญชันจะมีทั้งชนิดดอกราและดอกซ้อน ดอกมีหลายสี เช่น สีน้ำเงินอมม่วง สีม่วง สีฟ้า สีขาว ลักษณะของ ดอกคล้ายดอกถั่วมี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่จะมองเห็นลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว  มี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่ จะมองเห็นลักษณะคล้ายกาบหอย หรือปีกผีเสื้อ เมื่อดอก โรยก็จะติดฝัก